คำนิยามเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมาย
กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์
ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ
คดีแพ่ง
คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ
หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้
หรือการฟ้องเรียกให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า
วัตถุประสงค์ของการฟ้องมุ่งให้จำเลยชำระเงิน มิใช่มุ่งที่จะให้จำเลยต้องถูกลงโทษ
เช่น จำคุกดังเช่นคดีอาญา
คดีอาญา
คดีอาญา หมายถึง
การกระทำผิดที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชน เช่น
ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก ทำร้ายร่างกาย เป็น ต้น
ซึ่งมีโทษทางอาญา 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
การโต้แย้งสิทธิ
การโต้แย้งสิทธิ หมาย ถึง
การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึง
ได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น
แต่ยังหมายความรวมถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว
หรือสิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
ผู้แทนโดยชอบธรรม
บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคล ไร้ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความ สามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
หักกลบลบหนี้
การที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท
คำกล่าวโทษ
การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม
แจ้งความเท็จ
การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด
โมฆะกรรม
การกระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ
โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์
นิติกรรมอำพราง
การทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย
ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
Credits by http://www.thailaws.com/
บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคล ไร้ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความ สามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
หักกลบลบหนี้
การที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท
คำกล่าวโทษ
การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม
แจ้งความเท็จ
การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด
โมฆะกรรม
การกระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ
โมฆียกรรม
การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์
นิติกรรมอำพราง
การทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย
ความผิดหลายบท
การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
Credits by http://www.thailaws.com/